วิลเลียม ที. จี. มอร์ตัน
วิลเลียม ที. จี. มอร์ตัน

วิลเลียม ที. จี. มอร์ตัน

วิลเลียม ธอมัส กรีน มอร์ตัน (อังกฤษ: William Thomas Green Morton; 9 สิงหาคม 1819 – 15 กรกฎาคม 1868) เป็นทันตแพทย์และแพทย์ชาวอเมริกันผู้สาธิตการใช้อีเธอร์แบบสูดดมเพื่อเป็นยาระงับความรู้สึกสำหรับการผ่าตัดเป็นครั้งแรกต่อสาธารณชนในปี 1846 ตลอดชีวิตเขานับจากนั้น เขาทุ่มเทไปกับการพยายามสนับสนุนคำกล่าวอ้างว่าเขาผู้ค้นพบยาระงับความรู้สึก ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างอันเป็นที่น่ากังขา[1]เมื่อวันที่ 30 กันยายน 1846 มอร์ตันให้อีเธอร์แก่ผู้ป่วยเพื่อทำการถอนฟันโดยไม่เจ็บ หลังข่าวการให้ยาระงับความรู้สึกของเขาแพร่ออกไป ศัลยแพทย์ชาวบอสตัน เฮนรี เจเคิบ บิดจ์โลว์ ได้อ่านพบข่าวที่เขียนถึงเหตุการณ์นี้ในเชิงบวก และจัดการสาธิตการผ่าตัดภายใต้ยาระงับความรู้สึกอีเธอร์ในวันที่ 16 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยสาธิตต่อสาธารณะที่ห้องผ่าตัดของโรงพยาบาลกลางรัฐแมสซาชูเสตส์ โดยในการสาธิตครั้งนี้ แพทย์ จอห์น คอลลินส์ วอร์เรน ทำการตัดก้อนเนื้องอกออกจากคอของเอดเวิร์ด กิลเบิร์ต แอบบ็อต โดยไม่มีความเจ็บปวด ข่าวการใช้ยาระงับความรู้สึกในครั้งนี้แพร่กระจายไปทั่วโลก โดยมีการใช้ครั้งแรกนอกสหรัฐในลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยทันตแพทย์ เจมส์ รอบินซัน[2] ห้องผ่าตัดที่โรงพยาบาลกลางรัฐแมสซาชูเสตส์ที่ใช้สาธิตการผ่าตัดในวันนั้น กลายมาเป็นที่รู้จักในเวลาต่อมาว่า "โดมอีเธอร์" และปัจจุบันได้รับการอนุรักษ์ไว้ในฐานะสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์[3] หลังการสาธิต มอร์ตันพยายามปิดบังชื่อสารระงับความรู้สึกที่ให้แอบบอตดมโดยการเรียกแทนสารระงับความรู้สึกนี้ว่า "เลธีออน" (Letheon) แต่ไม่นานหลังจากนั้นก็เป็นที่ทราบกันว่าคืออีเธอร์[4]ในปี 1852 มอร์ตันได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแพยศาสตร์วอชิงตันในบัลติมอร์ (Washington University of Medicine in Baltimore) ที่ซึ่งต่อมากลายมาเป็นวิทยาลัยแพทย์และศัลยแพทย์ (College of Physicians and Surgeons)[5] เขาเข้าร่วมเป็นศัลยแพทย์อาสานับตั้งแต่ปี 1862 ให้กับกองพันแฟ่งแม่น้ำพอทอแมก เขาช่วยเหลือรักษาทหารที่บาดเจ็บกว่าสองพันนายตลอดการรบครั้งต่าง ๆ ที่ฟรีดริกเบิร์ก, แชนเซลเลอสวิลล์ และวิลเดอร์เนส[6]ในปี 1868 ขณะมอร์ตันนั่งรถม้ากับภรรยาในนครนิวยอร์ก เขาได้ขอให้รถหยุด ก่อนจะวิ่งตรงลงไปในทะเลสาบใจกลางสวนเซนทรอลพาร์กเพื่อ "ทำให้ตัวเย็นลง" ต่อมาจึงเป็นที่เข้าใจว่าพฤติกรรมนี้เกิดจากหลอดเลือดในสมองตีบ มอร์ตันถูกนำตัวไปยังโรงพยาบาลเซนต์ลยุกส์ มีการบันทึกไว้ว่าหลังหัวหน้าศัลยแพทย์จำหน้าของมอร์ตันได้ เขาได้กล่าวแก่นักเรียนแพทย์ของเขาว่า "...ต่อหน้าพวกคุณคือชายที่ได้ทำสิ่งต่าง ๆ แก่มนุษยชาติและลดความทุกข์ระทม มากกว่าที่มนุษย์อื่นใดเคยทำมา"[7]มอร์ตันเสียชีวิตจากอุบัติเหตุหลอดเลือดสมองในครั้งนั้น และถูกฝังร่างไว้ที่สุสานเมาต์ออเบิร์น ในวอเตอร์ทาวน์ และ แคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเสตส์[8]

วิลเลียม ที. จี. มอร์ตัน

เกิด 9 สิงหาคม ค.ศ. 1819(1819-08-09)
ชาร์ลตัน รัฐแมสซาชูเสตส์
มีอิทธิพลต่อ ชารลส์ ที. แจ็กซัน
ฮอเรซ เวลส์
มีชื่อเสียงจาก ใช้อีเธอร์ในการผ่าตัดเป็นครั้งแรก
คู่สมรส เอลิซาเบธ ไวต์แมน
เสียชีวิต 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1868(1868-07-15) (48 ปี)
นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก
สัญชาติ อเมริกา
สาขา ทันตแพทยศาสตร์

ใกล้เคียง

วิลเลียม เชกสเปียร์ วิลเลียม โมลตัน มาร์สตัน วิลเลียม แอดัมส์ วิลเลียม วอลเลซ วิลเลียม ฮาวเวิร์ด แทฟต์ วิลเลียม รีกัล วิลเลียม ฟอกเนอร์ วิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1 วิลเลียม ชอกลีย์ วิลเลียม สแตนดิช โนลส์

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิลเลียม ที. จี. มอร์ตัน https://archive.org/details/etherdaystranget00fens https://doi.org/10.1016%2FS0140-6736(02)88271-X https://web.archive.org/web/20110605225236/http://... http://tps.cr.nps.gov/nhl/detail.cfm?ResourceId=24... http://www.general-anaesthesia.com/images/the-leth... http://americanhistory.si.edu/archives/d8118.htm http://archive.org/details/101495446.nlm.nih.gov https://books.google.com/books?id=HDVNAQAAMAAJ&q=%... https://books.google.com/books?id=FSI7AQAAMAAJ https://web.archive.org/web/20080821125104/http://...